เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 2023 คณะกรรมการและสมาชิกศูนย์ศิษย์สามเณราลัยได้เข้าคำนับพระคาร์ดินัลฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช โอกาสฉลองศาสนนามฟรังซิสเซเวียร์ ณ สำนักมิสซังฯ บางรัก

     ขอรำลึกถึงอดีตประธานศูนย์ศิษย์เก่าสามเณราลัยยอแซฟ สุดใจ หอประเสริฐกิจ ผู้บรืหารเวทีมวยอ้อมน้อยและThai Fight เป็นผู้เสียสละทำงานให้เณรเก่าของเราอย่างสุดหัวใจ เป็นผู้นำหาทุนก้อนใหญ่เมื่อบ้านเณรครบ 50 ปี ดูแลเณรเก่าผู้พิการและตกยาก คอยเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างเณรเก่าทุกรุ่น ฯลฯ ท่านจากพวกเราไป 9 ปีแล้ว

สลากกินแบ่งปันน้ำใจ
ทุนทรัพย์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายส่วนเกินจากบัญชีสนับสนุนหลัก
สนับสนุนการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเบื้องต้น สำหรับบ้านเณรยอแซฟของเรา

รางวัลองคกรคนพิการดีเด่น มาตราฐานองค์กรในระดับดีมาก

วันที่30พฤศจิกายน2023
มอบประกาศรับรองวัดคาทอลิกฯ
แก่พระศาสนจักรคาทอลิกไทย
จาก รมต.วัฒนธรรรม&กรมศาสนา
ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญบางรัก

 

นการพบกับพระคาร์ดินัล ไมเคิล มีชัย วันที่ 22/8/23 ตอนเช้า ก่อนอาหารกลางวัน ท่านได้ สรุป Summa ของท่านเป็น วาทกรรม 3 ข้อ ดังนี้:
1. สิ่งที่เราไม่เริ่มต้นวันนี้ ก็ไม่อาจเสร์จในวันพรุ่งนี้ได้.
อันนี้ท่านสอน เรา active ตลอดเวลา ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง
2. คุณไม่มีวันแพ้ ถ้าคุณย้งไม่ยอมแพ้ และยังพยายามต่อไป
ข้อนี้ท่านสอนความมานะอดทนคล้ายๆกับ try, try, and try again.
3. วันสำคัญที่สุดในชีวิตของเรา มีอยู่ 2 วัน: 1) วันที่เราเกิดมา
ข้อนี้ท่านสอนให้เราระลึกถึงคุณ บิดามารดา , รวมถึงการเริ่มต้นชีวิตใหม่ เช่นแต่งงาน การบวชเป็นสงฆ์ ฯลฯ
2) วันที่เรารู้ว่า เกิดมาทำไม
ข้อนี้เป็นปรัชญาชีวิตที่ทุกคนจะต้องตอบด้วยตัวเอง ตามคำสอนในศาสนา อาชีพ การงาน วันที่ลูกเกิด วันที่กลับใจ (เช่น นักบุุญเปาโล)
ไม่มีใครเหมียน ท่านมีชัย! ถ้าเรารู้วันตายของเราจะเกิดความวุ่นวายอะไรบ้างครับ

พิธีบูชาขอบพระคุณปิดสมัชชาใหญ่สมัยที่ 1 เรื่องการอภิบาลกระแสเรียกและการอบรมในบ้านเณรเล็ก ผู้ร่วมจาก 13 กลุ่มจำนวน 91 คน เป็นประสบการณ์ที่ดีมีประโยชน์ ขอขอบคุณพระเจ้าและทุกคน พบกับสมัยที่ 2 21-23กค23 การอบรมในบ้านเณรกลางและใหญ่และการอบรมต่อเนื่องของพระสงฆ์ ก้าวไปด้วยกัน เป็นหนึ่งเดียว และพันธกิจ

ในนามของ ศูนย์ศิษย์เก่าสามเณราลัย เรียนเชิญพี่ๆเพื่อนๆและน้องๆ ร่วมกันเป็นเจ้าภาพงานสวดส่งดวงวิญญาณของ อักแนสกิมเตียง พันธุมจินดา  มารดาพี่อัครพลในวันอังคารนี้ด้วยครับผม

ขอต้อนรับครับ รัชตะคือฮวดเพื่อนร่วมรุ่นกับผมและพ่อเอสโซ่

พ่อเอสโซ่ทวีศักดิ์ กิจเจริญอยู่วัดเซ็นต์ฟรังซิสเซเวียร์สามเสน

ขอขอบคุณพี่ๆเพื่อนๆและน้องๆที่ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดงานคืนสู่เหย้าของศิษย์เก่าสามเณราลัยนักบุญยอแซฟในวันที่ 18 มีนาคมศกนี้ครับ โดยทางศูนย์ได้ตั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายไว้ไม่เกิน 100,000 บาท
และมีผู้สนับสนุนดังต่อไปนี้ครับผม

1.ท่าน Dr. วีระชัย เตชะวิจิตร์
สนับสนุนปัจจัยแด่พระสงฆ์ที่บวช 50ปีและ 25 ปี จำนวน
12,500 บาท

2. เทเรซา สาวิตรี นิลสุวรรณ์
12,000บาท รางวัล Bingo

3. เอกพร 1,000 บาท

4. คุณสุวัฒน์ 1,000 บาท

5. Mr. Paul 5,000 บาท

6. คุณพ่อ สุขุม กิจสงวน 1,000 บาท

7. รุ่น 20-21 มอบเงินสนับสนุนกิจกรรม 5,500 บาท (นอกเหนือจากรายการอาหารต่างๆ โดยนายสุทธิรักษ์ กล่ำชัย)

8. คุณวิวัตน์ 2,000 บาท

9. คุณจำรูญ อิทธิธีรรักษ์
10,000 บาท

10. ดอกเตอร์ นิลุบล ปาริชาติธนกุล 10,000 บาท

11. มาสเชอร์ สนิท 5,000บาท

12.ท่านดอกเตอร์วีระชัย เตชะวิจิตร์ ได้ช่วยสนับสนุนกิจกรรมของศูนย์ศิษย์เก่าฯเพิ่มอีก 10,000 บาท

13. คุณสุชาติ หิรัญญการ 1,000 บาท

14.คุณพรหมอาสน์ ประดิษฐ
1,000 บาท

15.คุณธีระวุฒิ สันติโรจน์ประไพ สนับสนุนกิจกรรมของศูนย์ 2,000 บาท

16. คุณจีรศักดิ์ สุพิทักษ์วงศ์
11,000 บาท

ทางศูนย์ศิษย์เก่ายังรอการสนับสนุนจากพี่น้องอยู่นะครับผม ท่านใดที่มีกำลังความสามารถทางเรายินดีนะครับผม เรามีกิจกรรมหลากหลายที่เตรียมการไว้ให้ท่านได้สัมผัสครับผม อย่าลืมแล้วพบกันครับผม

ประมวลภาพ 18 มีนาคม 2566 วันคืนสู่เหย้า

หลายท่านเคยเป็นครู ขอขอบพระคุณ ขอชูท่านที่ เป็นผู้ให้ ผู้เสียสละ

กลอนวันครู

ย้อนรำลึก นึกถึงวัน ฉันยังเด็ก
ตัวเล็กๆ ไปโรงรียน หิ้วของขาย
มะขามเทศ ร้อยเป็นพวง ร่วงกระจาย
ได้สตางค์ มาก็หาย เหลือนิดเดียว

กลัวครูเห็น ฉันจึงหลบ แอบซ่อนไว้
เพื่อนนักเรียน เพียรมาไกล้ ฉันยิ่งเสียว
กลัวที่สุด ในชีวิต คือไม้เรียว
จนบัดนี้นี้ ก็ยังเสียว อยู่ทุกวัน

ไม้บรรทัด คาบมาแล้ว เชื่อไหมแม่
ทั้งโดนแสร้ ทั้งโดนหวาย ซ้ายขวาหัน
น้ำตาร่วง เพราะตัวเรา ใช่ใครกัน
ครูลงทัณฑ์ เพื่ออยากให้ เราได้ดี

มิใช่โดน ลงโทษ เพราะขายของ
แต่ที่โดน เพราะลำพอง จ้องโดดหนี
มีการบ้าน ก็ส่งช้า กว่าเขาทุกที
แต่สิ้นปี ก็สอบผ่าน ด้วยอ่านจำ

คิดถึงครู อยากไปหา ไปก้มกราบ
อยากไปอาบ น้ำให้ครู หนูขอย้ำ
อาบที่แขน เพื่อทดแทน สิ่งครูทำ
สิบหกนี้ ศิษญ์ขอจำ คือวันครู...

 

 

พระศาสนจักรไทย ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกัน#ภาวนาและถวายมิสซาเพื่ออุทิศแด่สมเด็จพระสันตะปาปากิตติคุณเบเนดิกต์ ที่ 16

สังฆมณฑลทั่วไทย กำหนดพิธีมิสซา
ในวันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2023

⚫️ สังฆมณฑลนครสวรรค์
เวลา 08.00 น.
ณ อาสนวิหารนักบุญอันนานครสวรรค์
⚫️ สังฆมณฑลราชบุรี
เวลา 10.30 น.
ณ อาสนวิหารแม่พระบังเกิด
⚫️ สังฆมณฑลอุดรธานี
เวลา 10.30 น.
ณ อาสนวิหารพระมารดานิจจานุเคราะห์
⚫️ สังฆมณฑลนครราชสีมา
เวลา 10.30 น.
ณ อาสนวิหารแม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด
⚫️ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
เวลา 17.00 น.
ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ
⚫️ อัครสังฆมณฑลท่าแร่- หนองแสง
เวลา 17.00 น.
ณ อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล
⚫️ สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี
เวลา 19.00 น.
ณ อาสนวิหารอัครเทวดาราฟาเอล
⚫️ สังฆมณฑลเชียงราย
เวลา 19.00 น.
ณ อาสนวิหารแม่พระบังเกิด
⚫️ สังฆมณฑลอุบลราชธานี
เวลา 19.00 น.
ณ อาสนวิหารแม่พระนิรมล
⚫️ สังฆมณฑลจันทบุรี
** วันที่ 7 มกราคม 2023
เวลา 10.00 น.
ณ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล
⚫️ สังฆมณฑลเชียงใหม่
**วันที่ 10 มกราคม 2023
เวลา 19.00 น.
ณ อาสนวิหารพระหฤทัย
** ติดตามรับชมการถ่ายทอดสดในสื่อออนไลน์ของแต่ละสังฆมณฑล
** บางสังฆมณฑลอาจไม่มีการถ่ายทอดสด โปรดสอบถามที่เพจของสังฆมณฑล

สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย

(ภาพพระสันตะปาปาโดย Daniel Ibáñez/ EWTN)

   ในปัจจุบัน ประเทศไทย มีบ้านเณรประจำอัครสังฆมณฑลทั้ง 2 แห่ง และทั้ง 8 สังฆมณฑล รวมถึงบ้านเณรในคณะนักบวชต่าง ๆ อีกจำนวนมาก หากนับจำนวนสามเณรที่เคยได้รับการอบรมจากทุกบ้านเณรรวมกันก็เป็นจำนวนหลักหมื่นกันทีเดียว มีเพียงจำนวนประมาณร้อยละสิบ ที่ได้รับเลือกสรรค์ให้ได้รับศีลบวชตามกระแสเรียก และจำนวนร้อยละเก้าสิบ ที่ได้รับกระแสเรียกให้เป็นฆราวาส บรรดาอดีตสามเณรเหล่านี้เป็นผู้ที่เคยได้รับการอบรม และฝึกฝนอย่างเข้มข้นในด้านจิตตารมณ์ “รักและรับใช้” มามากบ้างน้อยบ้าง ถือได้ว่าเป็นกลุ่มฆราวาสที่สามารถเป็นกำลังสำคัญในงานแพร่ธรรมฆราวาสของพระศาสนจักรเป็นอย่างดี พระศาสนจักรจึงมีดำริให้ก่อตั้ง “ศูนย์ศิษย์สามเณราลัย” ขึ้น

ศูนย์ศิษย์สามเณราลัยก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ ปี ค.ศ.1959 ในสมัยที่ประเทศไทยมีเพียง 3 มิสซัง และมีบ้านเณรพื้นเมืองเพียงแห่งเดียวที่ย้ายจากบางนกแขวก มาตั้งเป็นบ้านเณรพระหฤทัย ที่ศรีราชา โดยดำริของท่านสังฆราช มิแชล มงคล ประคองจิต

ปัจจุบัน ศูนย์ศิษย์สามเณราลัย เป็นองค์กรหนึ่งของแผนกฆราวาส ในสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ที่มีพันธกิจหลักในการรวบรวมศิษย์เก่าของทุกสามเณราลัยให้เป็นกลุ่มฆราวาสที่พร้อมรับใช้ และเป็นกำลังสนับสนุนหลักในกิจการของพระศาสนจักร

วัตถุประสงค์หลักของศูนย์ฯ คือเพื่อส่งเสริมความสามัคคี และความช่วยเหลือระหว่างสมาชิก ทั้งฝ่ายกาย ฝ่ายวิญญาณ, ส่งเสริมความกตัญญูต่อสถาบันบ้านเณร, ร่วมมือประสานงานกับศูนย์ศิษย์สามเณราลัยของบ้านเณรต่าง ๆ ตลอดจนองค์การคาทอลิกอื่นตามกำลังสามารถ เพื่อจะสามารถ สนับสนุนและส่งเสริมให้สมาชิกบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์แก่พระศาสนจักร และสังคมประเทศชาติ ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

คุณพ่ออธิการบ้านเณร เป็นจิตตาธิการของศูนย์ฯ โดยตำแหน่ง และเนื่องจากในปัจจุบันประธานศูนย์ฯ เป็นประธานศูนย์ศิษย์สามเณราลัย แห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ คุณพ่อจิตตาธิการของศูนย์ฯ ในปัจจุบันจึงได้แก่ คุณพ่อวิทยา ลัดลอย ท่านอธิการแห่งสามเณราลัยนักบุญยอแซฟ สามพราน

ฆราวาสนับเป็นสร้างฐานรากที่สำคัญของพระศาสนจักร การเสริมสร้างฐานที่มั่นคงเพื่อนำพาศาสนจักรให้ดำรงคงอยู่ และดำเนินการทุกอย่างให้เป็นไปตามจิตตารมณ์แห่งคำสอน ขององค์พระเยซู
คริสตเจ้า ด้วยการนำของสภาพระสังฆราช บรรดาศิษย์สามเณรนับเป็นกลุ่มฆราวาสที่มีพื้นฐานแห่งจิตตารมณ์ใกล้เคียงกัน สามารถพัฒนาให้เป็นบุคคลากรและกำลังสำคัญในงานฆราวาสต่าง ๆ ได้ดี ความพยายามในการรวบรวมบรรดาศิษย์เก่าจึงนับเป็นการนำประโยชน์อย่างมากมาสู่พระศาสนจักรไทยอีกหนทางหนึ่ง

บรรดาศิษย์เก่าของบ้านเณร ที่รวมตัวกัน ก็เป็นกลุ่มฆราวาสกลุ่มหนึ่งที่เน้นการส่งเสริมบ้านเณร ขณะที่บ้านเณรยังคงต้องการแรงสนับสนุนจากฆราวาสท่านอื่น ๆ และกลุ่มฆราวาสอื่น ที่เป็น “ผู้ให้” แก่บ้านเณรตัวจริงอยู่เช่นเดิม ไม่เพียงแต่ปัจจัยในการหล่อเลี้ยงสามเณรให้เติบโต เจริญพร อย่างเหมาะสมเท่านั้น แต่การสนับสนุนกระแสเรียกของบุตร หลาน ของเหล่าฆราวาสทั้งหลาย จะนับเป็นการสนับสนุนให้แก่พระศาสนจักรอย่างแท้จริง จำนวนสามเณรของบ้านเณรในปัจจุบันลดลงอย่างมาก

 

การรวมตัวของศิษย์เก่าบ้านเณรน่าจะเป็นพลังให้ฆราวาสคริสตชนกล้าที่จะส่งลูกหลานเข้ารับการฝึกอบรมที่บ้านเณร ทบทวนค่านิยมในการเสียสละบุตรหลานให้เข้าบ้านเณร เพื่อจะได้มีพระสงฆ์เผยแพร่ พระธรรมคำสอนของพระเยซูคริสต์ อย่างยั่งยืน เป็นการสืบทอดศาสนจักรไทยให้ยาวนานเพื่อคนรุ่นหลัง และตลอดไป การรวมตัวกันของฆราวาสที่มิใช่งานหลักของแต่ละคน และมิใช่งานที่มุ่งหวังประโยชน์ส่วนตน จึงเป็นงานที่จำเป็นต้องอาศัยความเสียสละ ความรัก และความวางใจต่อพระพรในการทำงานส่วนนี้มาก ๆ เราจึงวอนขอพละกำลัง ความไม่ย่อท้อ และความมุ่งมั่นจากแบบอย่างของท่านนักบุญยอแซฟ องค์อุปถัมภ์ของศูนย์ ฯ เพื่อนำพากิจการของศูนย์ให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์

    ประธานศูนย์ฯ คนปัจจุบัน คือวีรเทพ​ เตชะสกุล พร้อมด้วยคณะกรรมการ ที่มีวาระเลือกตั้งใหม่ทุก ๆ 2 ปี มีการประชุมพบปะกันเป็นประจำ ในทุก ๆ เย็นวันอังคารที่ 2 ของเดือน ณ ห้องประชุมบ้านพักพระสงฆ์ วัดธรรมมาสน์นักบุญเปโตร บางเชือกหนัง จึงขอเรียนเชิญ ตัวแทนศูนย์ศิษย์เก่าของทุกบ้านเณร, บรรดาเณรเก่าของทุกบ้านเณร และผู้สนใจ ร่วมพบปะกันได้ในโอกาสดังกล่าว อาจมีการประชุมสัญจรกันบ้างในบางครั้ง ก็สามารถติดตาม สอบถาม ข่าวคราวการประชุมกันได้ที่ Facebook : Salterrae Thai หรือ โทร. 02-681-3900 ต่อ 1301 หรือ 1308 ติดต่อ คุณอาวุธ กงมนตรี เจ้าหน้าที่ประจำของศูนย์ฯ

 

 

 

 

ศิษย์เก่าพระหฤทัยและยอแซฟ ไปร่วมสวดอุทิศแก่ ยอแซฟ วีรวัฒน์ เจ็งสืบสันต์ที่ วัดราชินีสันติสุข มีพ่อเฉลิม รุ่งเรืองผล อดีตครูเณร พ่อสมโภชน์ พูลโภคผล เพื่อนร่วมรุ่น ศิริพงษ์  ธีระวุฒิ สมาน วานิช พ่อประยุทธ  อภิชัย

วีรวัฒน์เจ็งสืบสันต์(ผู้บ่วย) อยู่แถวล่างซ้ายสุด พ่อสมโภชน์ คนที่สามจากด้านขวาแถวล่างสุด

ขอขอบคุณพี่ศิริพงษ์ สุ่นพิชัย (ผูให้ข้อมูล)

ตัวแทนศิษย์เก่าฯ ร่วมฉลองท่านมัชัย

ขอขอบคุณ พี่พิสิษฐ์ / คุณอาวุธ (ผู้ให้ข้อมูล)

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเสด็จเยือนประเทศไทย มีเรื่องอะไรบ้างที่ต้องจับตา

12.11.2019

HIGHLIGHTS

6 MINS. READ
  • สำหรับคริสตชนคาทอลิก สมเด็จพระสันตะปาปาคือหัวหน้าครอบครัวที่ดูแลทุกข์สุขของผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกทั่วโลก พร้อมกับเทศน์ให้ข้อคิดตามหลักศาสนา ซึ่งคำว่า ‘สันตะปาปา’ และ ‘โป๊ป’ นั้นต่างหมายถึง ‘พ่อ’ หรือ ‘ปะป๊า’ 
  • เหตุผลหลักที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสตัดสินใจเลือกเสด็จเยือนประเทศไทยเป็นเพราะพระองค์ต้องการสื่อว่าศาสนจักรคาทอลิกไม่ได้จำกัดเพียงแค่ในยุโรป แต่เป็นศาสนจักรสากลที่ทุกประเทศทั่วโลกมีความสำคัญ แม้ว่าบางประเทศจะอยู่ห่างไกลและมีผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกอยู่ไม่มากนัก
  • เป็นที่ทราบกันดีว่าวาติกัน (Holy See) มีเครือข่ายการทูตที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก การเสด็จเยือนของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสจึงถือเป็นโอกาสดีสำหรับประเทศไทยในการกระชับความสัมพันธ์ทางการทูตกับวาติกันให้แน่นแฟ้นมากขึ้น ซึ่งสามารถส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศ

ในระหว่างวันที่ 19-23 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสจะเดินทางออกจากกรุงโรมเพื่อเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ก่อนที่จะทรงเดินทางต่อไปที่ประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 24-26 พฤศจิกายน 2019

 หลายคนอาจตั้งคำถามมากมายตั้งแต่คำถามเบื้องต้นอย่าง สมเด็จพระสันตะปาปาคือใคร เสด็จมาไทยแล้วยังไง หรือเหตุการณ์นี้สำคัญแค่ไหน 

 โดยทั่วไปแล้ว สมเด็จพระสันตะปาปาหรือที่เรียกกันว่าโป๊ปคือผู้นำทางศาสนา หัวหน้าสูงสุดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก ซึ่งสำหรับคริสตชนคาทอลิก สมเด็จพระสันตะปาปาคือหัวหน้าครอบครัวที่ดูแลทุกข์สุขของผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกทั่วโลก พร้อมกับเทศน์ให้ข้อคิดตามหลักศาสนา ซึ่งคำว่า ‘สันตะปาปา’ และ ‘โป๊ป’ นั้นต่างหมายถึง ‘พ่อ’ หรือ ‘ปะป๊า’ (หากจะพูดแบบคนอิตาเลียน)

 ในขณะเดียวกันสมเด็จพระสันตะปาปายังมีหน้าที่รับผิดชอบบริหารงานทั่วไปของศาสนจักรพร้อมกับ Roman Curia (คล้ายๆ กับคณะรัฐบาลที่มีสมเด็จพระสันตะปาปาเป็นหัวหน้าคณะ) และแต่งตั้งคาร์ดินัลเพื่อช่วยงานภายในศาสนจักรและบิชอป 

 ทั้งนี้ทั้งนั้นสมเด็จพระสันตะปาปาไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้นำทางศาสนา แต่ยังเป็นผู้นำประเทศและประมุขของรัฐ ซึ่งในที่นี้คือรัฐวาติกัน รัฐเอกราชที่ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี มีขนาดพื้นที่ที่เล็กที่สุดในโลก หรือประมาณ 275 ไร่ และในฐานะผู้นำรัฐ สมเด็จพระสันตะปาปาได้รับการยอมรับจากประชาคมนานาชาติ มีฐานะเป็นผู้สังเกตการณ์ในสหประชาชาติ นอกจากนี้สมเด็จพระสันตะปาปายังต้อนรับการมาเยือนของผู้นำประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นชาติมหาอำนาจหรือแม้กระทั่งประเทศไทย

 สมเด็จพระสันตะปาปาเสด็จเยือนไทยครั้งแรกในรอบ 35 ปีท่ามกลางความ ‘เซอร์ไพรส์’ 

สำหรับการเสด็จเยือนประเทศไทยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสในปีนี้ นับว่าเป็นการเสด็จเยือนครั้งแรกในรอบ 35 ปี หลังจากการเสด็จเยือนไทยของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ในปี 1984 อันที่จริงการเสด็จเยือนประเทศไทยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นเรื่องที่ค่อนข้าง ‘เซอร์ไพรส์’ โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมาในวันที่ 23 มกราคม 2019 ระหว่างที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเดินทางไปประเทศปานามาเพื่อเข้าร่วมงานวันเยาวชนโลก สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสได้บอกเป็นนัยแก่นักข่าวที่ร่วมเดินทางมาด้วยบนเครื่องบินถึงความปรารถนาส่วนตัวที่จะเสด็จไปประเทศญี่ปุ่น และหลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง อเลสซานโดร จิโซต์ตี (Alessandro Gisotti) ผู้อำนวยการชั่วคราวของสำนักงานข่าววาติกัน (Holy See Press Office) จึงออกมาประกาศว่าการเสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่นของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสอยู่ในขั้นตอนของการศึกษา 

     ในขณะนั้นไม่มีการเอ่ยถึงประเทศไทยแต่อย่างใด จนกระทั่งในวันที่ 17 กรกฎาคม 2019 สำนักข่าวท้องถิ่นที่ใกล้ชิดกับวาติกัน อิล ซิสโมกราโฟ (Il Sismografo) เปิดเผยว่าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสน่าจะเสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยระหว่างสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน โดยสมเด็จพระสันตะปาปาได้รับคำเชิญจากศาสนจักรท้องถิ่นและรัฐบาลจากทั้งสองประเทศตั้งแต่ปี 2013 

     คำเชิญจากฟากรัฐบาลไทยนั้นเกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงของไทยได้ส่งคำเชิญโดยตรงแก่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสในระหว่างการเข้าพบที่รัฐวาติกันเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2013 ทั้งนี้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสแทบจะตอบรับคำเชิญทันที แต่ทว่ายังไม่มีการกำหนดวันอย่างชัดเจน โดยประมาณ 8 เดือนหลังจากนั้นก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันซึ่งทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องสิ้นสภาพ และโครงการต่างๆ ของรัฐบาลมีอันต้องหยุดชะงัก

      หลายคนเชื่อว่าข่าวการเสด็จเยือนไทยเป็นเพียงข่าวลือ เนื่องจากไม่มีการรายงานความคืบหน้าใดๆ ในขณะที่สื่อหลายสำนักของประเทศญี่ปุ่นได้เปิดเผยว่าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสจะเสด็จเยือนฮิโรชิม่าและนางาซากิ และความเป็นไปได้ที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสจะเสด็จเยือนญี่ปุ่นดูเหมือนจะมีน้ำหนักมากกว่า เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสอยากไปเป็นมิชชันนารีสมัยที่ยังเป็นเพียงแค่นักบวชหนุ่มในคณะเยสุอิต แต่ด้วยเหตุผลทางสุขภาพจึงถูกปฏิเสธ 

     นอกจากนี้การเสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่นยังสื่อให้โลกเห็นว่าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสต่อต้านการผลิต พัฒนา ครอบครอง และใช้อาวุธนิวเคลียร์ แต่สนับสนุนให้มีการปลดอาวุธนิวเคลียร์ในทุกประเทศที่มีอาวุธทำลายล้างนี้ ซึ่งพระองค์เคยตรัสไว้ว่า “อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาวุธนิวเคลียร์ มีแต่จะสร้างให้เกิดความรู้สึกที่หวาดระแวง และไม่สามารถเป็นรากฐานสำหรับการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติระหว่างสมาชิกของมวลมนุษยชาติ

 ยิ่งไปกว่านั้น ช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายนเป็นช่วงที่แต่งตั้งคาร์ดินัลในโรม และนั่นก็ทำให้น้ำหนักของเรื่องการที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสจะเสด็จเยือนไทยมีความเป็นไปได้น้อยมาก อย่างไรก็ดี สื่อใกล้ชิดวาติกันรวมทั้งผู้ที่อยู่ในแวดวงมองว่าเหตุผลที่วาติกันยังไม่ออกประกาศใดๆ เกี่ยวกับการเสด็จเยือนไทยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นเพราะว่าช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทยเพิ่งมีการเลือกตั้ง และทางวาติกันต้องการรอให้ประเทศไทยมีการจัดตั้งรัฐบาลแล้วเสร็จเรียบร้อยก่อน

    เหตุผลหลักที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสตัดสินใจเลือกเสด็จเยือนประเทศไทยเป็นเพราะพระองค์ต้องการสื่อว่าศาสนจักรคาทอลิกไม่ได้จำกัดเพียงแค่ในยุโรป แต่เป็นศาสนจักรสากลที่ทุกประเทศทั่วโลกมีความสำคัญ แม้ว่าบางประเทศจะอยู่ห่างไกลและมีผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกอยู่ไม่มากนัก และเมื่อย้อนกลับไปดูการเสด็จเยือนต่างประเทศของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสนับตั้งแต่ได้รับเลือกเป็นสมเด็จพระสันตะปาปา จะเห็นได้ว่าสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์นี้ให้ความสำคัญกับประเทศที่ชาวคริสตชนเป็นส่วนน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคตะวันออก 

 ภารกิจเยี่ยมเยือนคริสตชนไทยในวาระครบรอบ 350 ปีของศาสนจักรคาทอลิก

การเสด็จเยือนครั้งนี้ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสในประเทศไทยจัดว่าเป็นการเดินทางเยี่ยมเยือนคริสตชนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย หากพูดภาษาเทคนิคแล้วนี่คือ Pastoral Visit ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างคริสตชนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคริสตชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่ห่างไกล มีภาษา วัฒนธรรม หรือประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง 

อย่างที่ จอห์น คริสซอสตอม (John Chrysostom) เคยกล่าวในยุคเริ่มแรกของศาสนาคริสต์ว่า “ให้คนที่อยู่ในโรมรู้ว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ในอินเดียเป็นสมาชิก (ในครอบครัว) ของเขา” (John Chrysostome, In Io., Hom. 65, 1 : PG 59, 361) 

 ดังนั้นจุดประสงค์แรกของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณของเหล่าบรรดาคริสตชนคือการร่วมเฉลิมฉลอง 350 ปีของการก่อตั้งศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา (สมัยสมเด็จพระนารายณ์)

 อย่างไรก็ดี เนื่องจากสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสมีสถานะเป็นผู้นำรัฐ/ประมุขแห่งรัฐ การพูดคุยพบปะกับผู้นำประเทศจึงมีลักษณะที่เป็นการเมืองร่วมอยู่ด้วย และเมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเสด็จเยือนประเทศที่ศาสนาคริสต์ไม่ได้เป็นรากฐานทางวัฒนธรรม เรื่องเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนาและเสรีภาพในการปฏิบัติกิจต่างๆ ตามความเชื่อส่วนตัวจะกลายเป็นประเด็นสำคัญของการเข้าพบทันที แต่ทว่าสถานการณ์ในไทยถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวหรือเวียดนาม

 ในขณะที่ประเทศไทยอาจจะมีข้อติดขัดทางเทคนิคบ้าง เช่น สิทธิการถือครองที่ดินในนามศาสนจักรคาทอลิกที่ถูกกำหนดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ไม่อาจตอบโจทย์จำนวนคริสตชนไทยในปัจจุบันที่มีมากขึ้น แต่ทว่าอุปสรรคดังกล่าวไม่ได้ขัดขวางการเลือกนับถือหรือการปฏิบัติตามความเชื่อทางจิตวิญญาณแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยพร้อมด้วยศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยกำลังพูดคุยหารือเพื่อบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการถือครองที่ดินของศาสนจักรคาทอลิกฉบับใหม่ เพื่อให้การครอบครองที่ดินของศาสนจักรมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน 

 และถึงแม้ว่าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสจะมีฐานะเป็นบิชอปแห่งโรม เป็นผู้นำทางศาสนาของชาวคริสตชนนิกายโรมันคาทอลิก แต่การเสด็จเยือนของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสไม่ได้เกี่ยวข้องกับคริสตชนในประเทศไทยเพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและคนไทยทุกคนในฐานะ ‘เจ้าบ้าน’ และเจ้าของประเทศ

 ทั้งนี้ก็เป็นเพราะสมเด็จพระสันตะปาปาเป็นบุคคลที่โลกตะวันตกใช้อ้างอิงสำหรับเรื่องทางจริยธรรมและจรรยาบรรณ พร้อมกับเป็นบุคคลที่มีความเป็นกลางและมีความน่าเชื่อถือสูง เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชาติตะวันตก ที่ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาค่อนข้างมีอิทธิพลต่อทัศนคติของประชาชน นอกจากนี้ตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปาถือว่าเป็นตัวแทนแห่งสันติภาพและความยุติธรรม ซึ่งสำหรับคนไทยและประเทศไทยแล้ว สิ่งที่สมเด็จพระสันตะปาปากล่าวในระหว่างการเสด็จเยือนประเทศไทยในครั้งนี้จะสะท้อนถึงภาพลักษณ์ของประเทศไทยในประชาคมโลก

เป็นที่ทราบกันดีว่าวาติกัน (Holy See) มีเครือข่ายการทูตที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก (วาติกันมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 183 รัฐทั่วโลก) การเสด็จเยือนของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสถือเป็นโอกาสดีสำหรับประเทศไทยในการกระชับความสัมพันธ์ทางการทูตกับวาติกันให้แน่นแฟ้นมากขึ้น ซึ่งสามารถส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศ แม้ว่าวาติกันจะเป็นเพียงแค่ผู้สังเกตการณ์ใน UN ก็ตาม

 นอกจากนี้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสยังมีบทบาททางการทูตที่สำคัญ ซึ่งช่วยให้สหรัฐฯ และคิวบากลับมาฟื้นฟูความสัมพันธ์กันอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ทั้งสองประเทศได้ตัดขาดความสัมพันธ์มานานกว่า 50 ปี โดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ และผู้นำคิวบาในขณะนั้น ซึ่งได้แก่ บารัก โอบามา และราอูล คาสโตร ต่างออกมากล่าวขอบคุณสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสอย่างเปิดเผย

 จับตาถ้อยแถลงระหว่างเสด็จเยือนประเทศไทย

ทั้งนี้สิ่งที่น่าจับตามองในระหว่างการเยือนในของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสคงหนีไม่พ้น ‘ถ้อยคำของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส’ ที่จะถ่ายทอดออกมาสู่สาธารณชน ไม่ว่าจะเป็นคริสตชนที่อยู่ในประเทศไทย ประชาชนชาวไทย หรือประชาคมโลก

 โดยประเด็นหลักๆ ที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสน่าจะกล่าวถึงสามารถสรุปเป็นหัวข้อดังนี้

 1. ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสไม่เห็นด้วยกับระบบเศรษฐกิจที่คำนึงเพียงแค่ระบบเศรษฐกิจที่เน้นความสำเร็จทางการเงินของคนกลุ่มเล็กๆ ในเอกสาร Evangelii Gaudium (EG) สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสมองว่า “ในปัจจุบันทุกอย่างถูกจัดอยู่ในเกมการแข่งขัน เกมที่มีกฎว่าใครแกร่งที่สุดชนะ เกมที่ผู้ที่แข็งแรงจะกำจัดผู้ที่อ่อนแอที่สุด” (EG 53) โดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสได้ปฏิเสธระบบทุนนิยมสุดโต่งและประกาศอย่างชัดเจนว่า “ไม่เอาเศรษฐกิจแห่งการกีดกันและความเหลื่อมล้ำทางสังคม” (ES 35)

 2. คอร์รัปชัน การต่อต้านคอร์รัปชันเป็นหนึ่งในเรื่องที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสให้ความสำคัญ โดยในระหว่างการเยือนประเทศมาดากัสการ์ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสได้ตำหนิถึงเรื่องคอร์รัปชันในหมู่ชนชั้นนำของประเทศ นอกจากนี้ในคำนำหนังสือของ คาร์ดินัลปีเตอร์ เทิร์กสัน (Peter Turkson) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นสมณมนตรี (เทียบได้กับรัฐมนตรี แต่อยู่ใน Roman Curia) ในกระทรวงที่ดูแลเรื่องการส่งเสริมการพัฒนามนุษย์ (Dicastery for the Promotion of Integral Human Development) สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสพูดถึงเรื่องคอร์รัปชันว่าเป็นการใช้ชีวิตที่ไม่มีกฎเกณฑ์ของมนุษย์ที่อยู่ในภาวะเสื่อมถอย

 3. สิ่งแวดล้อม วิกฤตสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่สร้างความกังวลให้กับสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ความห่วงใยที่มีต่อธรรมชาติเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ว่าทำไมสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสจึงเลือกชื่อนักบุญฟรานซิสหลังจากได้รับเลือกเป็นสมเด็จพระสันตะปาปา ทั้งนี้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเขียนเอกสารที่มีชื่อว่า Laudato si’ (LS) ซึ่งเป็นเอกสารที่ว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อม และเหตุผลที่ทุกคนต้องช่วยกันปกป้อง ‘บ้านของพวกเราทุกคน’ (LS 13) โดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเห็นว่าวิกฤตสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคน ทุกประเทศ ทุกความเชื่อทางจิตวิญญาณ ซึ่งจำเป็นต้องร่วมมือช่วยกันอย่างเร่งด่วน 

 4. ความร่วมมือระหว่างศาสนา ความสมานฉันท์สามัคคีระหว่างศาสนาคือสิ่งที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเชื่อว่าเป็นหนทางที่จะแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ความรุนแรงในนามศาสนา ซึ่ง “การรับรู้ถึงความแตกต่างไม่ได้เป็นสิ่งที่ดีเท่านั้น แต่มันคือสิ่งที่จำเป็น” ยิ่งไปกว่านั้น การพูดคุยแลกเปลี่ยนถือว่าเป็น “การค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน […] หาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน”

 5. เยาวชน-คนรุ่นใหม่ ระหว่างการประชุมสมัชชาที่กรุงโรมในปี 2018 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเชื่อว่าคนรุ่นใหม่เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและศาสนจักรให้ก้าวไปข้างหน้า หากไม่ฟังเสียงคนรุ่นใหม่ นั่นหมายความว่าเป็นการ “ปิดกั้นต่อสิ่งใหม่ๆ และไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้อีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนรุ่นใหม่ที่กำลังจะตีตัวออกห่างมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้” นอกจากนี้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสยังเห็นว่า “คนรุ่นใหม่รู้จักที่จะวิพากษ์วิจารณ์ […] สามารถวิเคราะห์อนาคต” “แต่ทว่าเหล่าบรรดาผู้ใหญ่นั้นโหดร้าย และมองข้ามพลังของเยาวชนนี้”

 สุดท้ายนี้ เป็นที่แน่นอนว่าการเสด็จเยือน 3 วันของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสนั้นค่อนข้างสั้นและจำกัดอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งส่งผลให้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสไม่อาจเห็นภาพที่แท้จริงของประเทศไทย 

 ถึงกระนั้นสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสน่าจะรู้จักประเทศไทยพอสมควรจากการได้รับรายงานและข้อควรปฏิบัติของสมณทูตวาติกัน (Apostolic Nunciature) รวมทั้งศาสนจักรท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสจะรับรู้ถึงสภาพความรู้สึกของผู้คนที่ต้องเผชิญกับปัญหาปากท้อง ความเหลื่อมล้ำ คอร์รัปชัน และความไม่สงบทางการเมือง เนื่องจากบริบทดังกล่าวคล้ายคลึงกับสภาพสังคมของประเทศอาร์เจนตินา ประเทศบ้านเกิดของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ประเทศที่ทำให้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสได้รับฉายาว่าเป็น ‘Pope of the Poor’

 Dear Papa Francesco : Romans 15:1-2 “So, we may not meet each other here…”

 พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

อ้างอิง:

 TAGS: